วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน

ให้นักศึกษาอ่านคำถามและนำคำตอบของแต่ละข้อไปโพสต์ใส่เว็บบล็อกของตนเอง

1.การเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญอย่างไร

ตอบ ทำให้เราได้รู้อะไรหลายๆอย่างที่รวดเร็วและทันสมัย

2.ในชีวิตประจำวันของนักศึกษาได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างไรและเกิดผลดีผลเสียอย่างไรบ้าง

ตอบ ใช้ในด้านการศึกษาและเพื่อการทำงานให้ได้ผลประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น

ผลดี สะดวกและรวดเร็ว

ผลเสีย ถ้าใช้ในทางที่ผิดก็จะไม่ดีต่อตนเอง

3.นักศึกษาคิดว่าซอฟท์แวร์มีความเกี่ยวข้องกับกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร

ตอบ เป็นการทำงานรวมกันเพื่อมาประยุกต์ในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความเทคโนโลยี2

Key Logger ภัยร้ายบนแป้นพิมพ์
Key Logger คืออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ที่รุนแรงมากอย่างหนึ่ง เพราะผู้ไม่หวังดีจะบันทึกการกดแป้นพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ของคุณ ขโมยข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บนเครื่อง ตั้งแต่รหัสผ่านอีเมล รหัสถอนเงินผ่าน e-banking รหัสซื้อขายหุ้น และความลับทุกอย่างที่คุณพิมพ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแฮกเกอร์พวกนี้จะนำข้อมูลของคุณไปเพื่อข่มขู่ แบล็กเมล นำรหัสบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบอื่นๆ
ไม่เพียงแต่องค์กรใหญ่เท่านั้นที่จะเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วย Key Logger แม้แต่ตัวคุณเองก็มีสิทธิ์ถูกล้วงข้อมูลได้จากคนใกล้ตัว เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณยืมมา หรือเจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตที่คุณไปใช้บริการ เนื่องจาก Key Logger เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ติดตั้งได้ทั้งด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ ฝังไว้ในแป้นพิมพ์ หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในวินโดวส์ และแพร่กระจายได้พร้อมกับไวรัส ผ่านทางธัมป์ไดรฟ์ ผ่านทางการแชท หรือผ่านทางอีเมลก็ได้
ป้องกัน Key Logger ด้วยตัวคุณเอง
ทุกองค์กรควรป้องกัน Key Logger โดยการให้ความรู้และการอบรมพนักงานผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความระแวดระวังและหมั่นตรวจสอบเครื่องของตน คอยเฝ้าดูด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยเฝ้าดูความผิดปกติหรือสิ่งแปลกปลอมบนแป้นพิมพ์
เปลี่ยนมาใช้ Notebook PC แทน Desktop PC เพราะแป้นพิมพ์ของโน้ตบุ๊กติดตั้งอุปกรณ์ Key Logger ได้ยากกว่า อีกทั้งยังสามารถพกพาติดตัวไปได้ตลอดเวลา จึงลดโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีจะแอบมาติดตั้ง Key Logger บนเครื่องของคุณได้
ควรเพิ่มมาตรการตรวจสอบรหัสผ่านเพิ่มขึ้นชั้นหนึ่ง แม้โดยปกติเรามีการตรวจสอบด้วย Username และ Password อยู่แล้ว แต่เพื่อความไม่ประมาทควรมีการตรวจสอบรหัสผ่านโดยใช้ Secure Token, Smart card หรืออุปกรณ์อื่นอีกชั้นหนึ่ง และความมีการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ เพื่อป้องกันคนร้ายที่ได้รหัสก่อนหน้านี้กลับเข้ามาขโมยข้อมูลได้อีก
ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส สำหรับ Key Logger แบบซอฟต์แวร์ และป้องกัน Key Logger แบบฮาร์ดแวร์ด้วยการควบคุมการเข้าออกของพนักงาน เพื่อไม่ให้สามารถลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ที่ตัวเครื่องได้
ควรเพิ่มเมนูแบบ Drop Down เพื่อทดแทนเมนูแบบที่ต้องพิมพ์ หรือใส่ข้อมูลด้วยการคลิกตัวอักษรบนหน้าจอแทนการพิมพ์ ซึ่ง Key Logger จะไม่สามารถดักจับข้อมูลได้
หรือหากจะป้องกันในระดับ advance ก็สามารถหาซอฟต์แวร์ที่ช่วยตรวจจับ Key Logger มาใช้ ซึ่งสามารถช่วยปิดการติดต่อระหว่าง Key Logger กับคอมพิวเตอร์ และยังช่วยแจ้งเตือนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้โดยอันโนมัติด้วย
แม้ฝ่ายไอทีขององค์กรจะมีหน้าที่คอยดูแลและแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ แต่ในความเป็นจริงอาจไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้ความรู้พนักงานได้เข้าใจถึงอันตรายและการป้องกันการโจมตีเหล่านี้ เพื่อให้พนักงานสามารถดูแลตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองได้ ผู้ไม่หวังดีก็จะเข้ามาขโมยข้อมูลได้ยากลำบากมากขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น



5 วิธีจัดการกับอีเมล ที่จะช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น


ทุกวันนี้ใครไม่มีอีเมลใช้ถือว่าล้าหลังอย่างมาก อีเมลเข้ามามีบทบาทในการติดต่อสื่อสารอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันให้ทั้งความสะดวกและรวดเร็วกว่าการส่งทางไปรษณีย์เป็นไหน ๆ ช่วยร่นเวลา ไม่ว่าระยะทางจะไกลเพียงไหนก็ส่งได้ไวเพียงอึดใจเดียว ด้วยความที่อีเมลช่างรวดเร็ว และเชื่อมต่อกัน ได้ทั่วโลก วัน ๆ หนึ่งจึงมีอีเมลเข้ามาในกล่องอินบ๊อกซ์มากมาย หากไม่รู้จักจัดระเบียบ บริหารอีเมล จำนวนมากนั้นแล้ว ความยุ่งยากในการค้นหาอีเมลที่จำเป็นท่ามกลางกองอีเมลนับร้อยในแต่ละวันย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของคุณอย่างแน่นอน 5 วิธีต่อไปนี้จะช่วยในการจัดระเบียบอีเมลของคุณ
1. เลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งาน
คุยกับเพื่อนใช้ฟรีอีเมลอย่าง hotmail, yahoo หรือ Gmail แต่ถ้าในสำนักงานควรใช้โปรแกรม อีเมลขององค์กรปลอดภัยกว่าฟรี อีเมล ปกป้องความลับทางธุรกิจได้ดีกว่า แถมยังมีฟีเจอร์ให้เลือก ใช้หลากหลายกว่า
2. เคลียร์อีเมล ตั้งโฟลเดอร์ย่อย
ควรเคลียร์อีเมลเป็นประจำ แยกเรื่องงานกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานออกจากกัน โดยอาจตั้งโฟลเดอร์ย่อยให้เป็นหมวดหมู่ เช่นแบ่งตามชื่อโปรเจ็กต์ หรือชื่อผู้ส่ง จากนั้นตั้งค่าฟิลเตอร์ เพื่อให้ระบบแยกอีเมลที่ต้องการไปเข้าในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเข้ามารวมกันอยู่ในอินบ็อกซ์ ที่เดียว ทำให้คุณสามารถค้นหาอีเมลที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น รวมทั้งคัดกรองเมลที่ไม่จำเป็น เช่น สแปมเมล ฟอร์เวิร์ดเมลออก อินบ็อกซ์ของคุณก็จะน่าดูขึ้น ไม่รกรุงรังเต็มไปด้วยอีเมลขยะที่ไม่ต้องการ
3. ตั้งระบบตอบกลับอัตโนมัติ
การกำหนดเงื่อนไขการตอบกลับอีเมลโดยอัตโนมัติก็ช่วยในการทำงานแบบมืออาชีพได้ดี คุณอาจ ตั้งค่าจากหัวข้ออีเมล เช่น Request หรือ Ask for Help เพื่อรับอีเมลที่พนักงาน ส่งมาขอความช่วยเหลือ ทางด้านไอทีจากคุณ โดยคุณอาจตั้งการตอบกลับอัตโนมัติด้วยข้อความที่คุณเขียนขึ้นเองว่า คุณรับทราบปัญหาของเขาแล้วและจะรีบดำเนินการให้ ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งรู้สึกอุ่นใจว่าเขาจะได้รับการแก้ปัญหาในไม่ช้านอกจากนี้การใช้งานโปรแกรมเมลนั้นมีฟีเจอร์มากมายที่พร้อมจะรองรับการใช้งานของคุณ ซึ่งคุณควรหา โอกาสศึกษาหรืออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่คุณได้อีกมากทีเดียว
4. รู้จักป้องกันอีเมลหลอกลวง
โจรไฮเทคเดี๋ยวนี้มีหลากหลายรูปแบบ ประเภทหนึ่งที่ชอบส่งอีเมลหลอกลวงเพื่อล้วง ข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคลด้วย Phishing Mail ซึ่งเป็นการส่งอีเมลมาเพื่อ หลอกลวงว่าข้อมูลทางการเงินของคุณกำลังมีปัญหา ให้คุณล็อกอินเข้าไปเพื่อตรวจสอบ ซึ่งอีเมลนี้จะเลียนแบบหน้าเว็บไซต์ของธนาคารจนทำให้ คุณหลงเชื่อว่าเป็นอีเมลที่ส่งมาจากธนาคารจริง ๆ แต่เมื่อคุณใส่รหัสส่วนตัวของคุณเข้าไปยังเว็บลิงก์ ปลอมในอีเมลนั้น ก็จะถูกขโมยข้อมูลทางการเงินไปในที่สุด
ดังนั้นเมื่อพบอีเมลประเภทนี้อย่าหลงกลง่าย ๆ ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากธนาคารนั้น ๆ ให้แน่ใจเสียก่อน จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพ
5. แบ็กอัพข้อมูลให้เป็นนิสัย
เพื่อให้งานของคุณดำเนินไปด้วยความราบรื่น ไม่สะดุด หรือข้อมูลสำคัญสูญหาย เสียหาย จึงควรทำการแบ็กอัพข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงบนเซิร์ฟเวอร์ด้วย
คนไอทีนอกจากจะใช้งานอีเมลได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ยังต้องรู้จักบริหารจัดการ จัดระเบียบ และป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ไว้ล่วงหน้าด้วยเสมอ เพื่อให้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมืออำนวย ความสะดวกอย่างแท้จริง และไม่ต้องมานั่งปวดหัวในภายหลัง

เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น

กิตติพงษ์ วิชเวช
ปวส1.2 เลขที่21